top of page

เตรียมความพร้อมให้แทรกเตอร์ก่อนฤดูกาลทำงาน

  • รูปภาพนักเขียน: Admin Minsen
    Admin Minsen
  • 12 ก.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

รถแทรกเตอร์

เตรียมความพร้อมให้แทรกเตอร์ก่อนฤดูกาลทำงาน

“เคลียร์ทุกปัญหา คลายทุกข้อสงสัย”

เคล็ดลับการใช้งานต่าง ๆ การดูแลรักษา และสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องจักรกลเกษตร คูโบต้า

พบกับ Excusive content ในเดือนนี้ของเรา “แทรกเตอร์”

ติดตามข้อมูลสุดพิเศษนี้ได้ที่ แอปพลิเคชัน Kubota Smart เท่านั้น !!

เตรียมความพร้อมให้แทรกเตอร์ก่อนฤดูกาลทำงาน

สำหรับพี่ ๆ เพื่อน ๆ เกษตรท่านไหนที่ไม่ได้ใช้แทรกเตอร์มาหลายเดือน หรือหยุดพักการทำงานมา วันนี้เรามาเตรียมความพร้อมก่อนการทำงานในฤดูกาลใหม่กันครับ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการใช้งาน เราจะต้องตรวจเช็กแทรกเตอร์จุดไหนบ้าง ไปดูกันเลยครับ


1. ตรวจเช็กระดับน้ำ

น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำยาหม้อน้ำ น้ำในหม้อพัก ว่าอยู่ในระดับที่กำหนดหรือไม่ หากไม่อยู่ในก้านวัดระดับน้ำมัน (ระดับน้ำมันควรอยู่ระหว่างขีดบนและขีดล่าง) หรือหากถึงระยะเวลาเปลี่ยนถ่าย ให้เปลี่ยนถ่ายทันที


2. ตรวจเช็กสภาพกรองอากาศทั้งตัวในและตัวนอก

ตัวกรองอากาศหากอุดตันหรือฉีกขาด ให้เป่าทำความสะอาด (เฉพาะกรองตัวนอกเท่านั้น) หรือเปลี่ยนใหม่


3. ตรวจสอบรอยรั่วรอบตัวรถต่าง ๆ

ตรวจรอยรั่วต่าง ๆ เช่น ซีลดุมล้อหน้า-หลัง ซีลเพลากลาง ซีลเพลาพีทีโอ รอยรั่วที่เครื่องยนต์ ชุดเกียร์ ชุดไฮดรอลิก และตรวจสอบสภาพท่อยางต่างๆ

4. ตรวจเช็กสภาพสายพานพัดลมและความตึง

เช็กสภาพสายพานพัดลม และปรับตั้งความตึงของสายพาน ให้อยู่ในค่าที่กำหนด


5. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่

โดยดูได้ที่ตาแมวของแบตเตอรี่ หากเป็นสีเขียวถือว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน


6. ตรวจสอบสภาพหม้อน้ำและตะแกรงหม้อน้ำ

เช็กสภาพหม้อน้ำและตะแกรงหม้อน้ำ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ หากมีรอยฉีกขาดให้เปลี่ยนใหม่


7. ปรับตั้งระยะฟรีเบรกและระยะฟรีคลัตช์ ให้อยู่ในค่าที่กำหนด


8. ปรับตั้งคานล้อหน้า ให้อยู่ในค่าความหนืดที่เหมาะสมก่อนการใช้งาน


9. ตรวจสอบสภาพล้อยาง

เช็กสภาพล้อยางไม่ให้มีรอยฉีกขาด และเช็กแรงดันลมยาง


10. ตรวจเช็กน้ำมันเชื้อเพลิง

น้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมสำหรับการใช้งาน ตรวจสอบการทำงานแทรกเตอร์ โดยการสตาร์ทเครื่องยนต์ต้องติดได้อย่างง่ายดาย


11. ตรวจสอบคันควบคุมต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน – การเข้าเกียร์ เกียร์หลัก เกียร์รอง เกียร์เดินหน้า-ถอยหลัง เกียร์4W เกียร์PTO สามารถเข้าเกียร์ได้อย่างคล่องตัว ไม่ติดขัด หรือหลวมคลอน

– การทำงานของระบบไฮดรอลิก เช่น การทำงานพวงมาลัยต้องหมุนได้อย่างคล่องตัว / การทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง 3 จุด และการทำงานของใบมีดดันดิน ต้องยก-วาง ได้ และจะต้องไม่ตกเอง


12. ตรวจสอบสวิตซ์ไฟ และสัญญาณไฟเตือนบนแผงหน้าปัด เช่น ไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟฉุกเฉิน สัญญาณแตร

หากมีความผิดปกติหรือเกิดความเสียหาย ให้ทำการแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

เพียงเท่านี้ แทรกเตอร์ของพี่ ๆ ไม่ว่าจะรุ่นไหน ก็พร้อมที่จะลุยงานต่อเนื่องไปกับพี่ ๆ ได้ทุกที่แล้ว

Comentários


bottom of page